วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ออกแบบโลโก้



จัดทำโดย
นางสาวยุวรินทร์  สีดาเลิศ
การศึกษาปฐมวัย หมู่ 2 รหัส 54191860243

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำถามเรื่อง การสร้างสื่อการเรียนการสอน

1. ข้อใด ไม่ใช่ ความสำคัญของสื่อการสอน
ก. ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน
ข. ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน
ค. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร
ง. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียน
2. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของสื่อการสอน
ก. ตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ
ข. วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน
ค. เพื่อออกข้อสอบหรือวัดประเมินผลการเรียน
ง. เพื่อช่วยในการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อใด ไม่ใช่ การใช้สื่อการสอน
ก. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ข. ใช้ประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน
ค. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียน
ง. ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
4. การสอนนักเรียนระดับประถมศึกษาควรใช้สื่อประเภทใด
. ภาพการ์ตูนสีสันสดใส
. รูปถ่าย
. วีดีโอ
. ถูกทุกข้อ
5. การสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาควรใช้สื่อประเภทใด
ก. ภาพการ์ตูนสีสันสดใส
ข. รูปถ่าย
ค. วีดีโอ
ง. ถูกทุกข้อ
 6. การสอนผู้เรียนจำนวนมากควรจะใช้สื่ออย่างใด
. เครื่องฉาย
. เครื่องเสียง
. หนังสือเรียน
. ถูกทั้งข้อ ก และ ข้อ ข
7. Media Attributes หมายถึงอะไร
ก. คุณลักษณะของสื่อ
ข. พื้นฐานในการเลือกสื่อ
ค. การเลือกสื่อการสอน
ง. การกำหนดสื่อการสอน
8. Kemp และ Smellie ได้แนะนำว่า ในการเลือกสื่อการสอนอาจเริ่มต้นจากการสิ่งใด
ก. วิธีการสอนแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และลักษณะของผู้เรียน
ข. ประสบการณ์การเรียนรู้แบบใดเหมาะสมที่สุดกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ค. ถ้ามีการเลือกให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้โดยผ่านการรับรู้หรือการรับสัมผัส
ง. ถูกทุกข้อ
9. การเลือกสื่อการสอนนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการเลือกสื่อที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาปัจจัยได้แก่สิ่งใด
ก. วิธีการสอน
ข. ลักษณะของผู้เรียน
ค. ผู้สอนหรือครู
ง. ถูกทุกข้อ
10. คุณลักษณะของสื่อที่สำคัญ ได้แก่สิ่งใด
ก. การแสดงแทนด้วยภาพ,ปัจจัยทางด้านขนาด
ข. ปัจจัยทางด้านสี, ปัจจัยทางด้านการเคลื่อนไหว
ค. ปัจจัยทางด้านภาษา,ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง,ปัจจัยทางด้านการจัดระเบียบข้อมูล
ง. ถูกทุกข้อ
 11. การวางแผนผลิตสิ่งพิมพ์สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ
. จุดมุ่งหมาย
. วันเวลาสถานที่
. วัตถุประสงค์
. งบประมาณ
12. สิ่งพิมพ์ให้ความหมายได้ว่าอย่างไร
. ข้อความ ข้อเขียน ภาพที่เกี่ยวกับแนวความคิด
. สารคดีบันเทิง
. เนื้อหา ภาพวาด
. สมุดบันทึกข้อมูล
13. การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกต้องมีดังนี้ ยกเว้น ข้อใด
. การวางแผนจุดมุ่งหมายและเป้าหมาย
. จัดงบประมาณ,ปรึกษาโรงพิมพ์
. ทดสอบแนวคิดและเริ่มแนวร่าง
. วัน เวลา สถานที่
14. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในขั้นตอนการจัดหน้าสิ่งพิมพ์
. ปรับแต่งสิ่งพิมพ์
. จัดวางข้อความและภาพ
. เตรียมส่วนประกอบต่างๆ
. เตรียมปรับปรุง
15. การทำสารบัญและดัชนีจัดอยู่ในองค์ประกอบใดของการจัดหน้าสิ่งพิมพ์
. เตรียมปรับปรุง
. เตรียมส่วนประกอบต่างๆ
. จัดทำสารบัญ
. จัดทำสารบัญและดัชนี
 16. ข้อใดมีประโยชน์มากที่สุดในการจัดหน้าสิ่งพิมพ์
. ช่วยให้ผู้อ่านสนใจการอ่านมากขึ้น
. ช่วยให้ผู้อ่านสะดวกมากขึ้นในการอ่าน
. ช่วยให้ผู้อ่านกระตือรือร้นในการเรียนรู้
. ช่วยให้ผู้อ่านมีความพยายามที่จะค้นคว้า
17. ข้อใดให้ความหมาย สื่อ 3 มิติ ได้ถูกต้องที่สุด
ก. สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีตามธรรมชาติ
ข. สื่อที่ผลิตแล้วผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และการรับสัมผัสต่างๆได้
ค. สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว ความหนาหรือลึก ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และการรับสัมผัสต่างๆ สามารถรับรู้ได้ตามความเป็นจริง
ง. สื่อวัสดุสามมิติที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง
18. หุ่นจำลอง แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 5 ประเภท
ข. 6 ประเภท
ค. 3 ประเภท
. 7 ประเภท
19. ข้อใดคือลักษณะของหุ่นจำลองที่ดี
ก. มีขนาดพอเหมาะสมที่จะใช้ในห้องเรียน
ข. ไม่ความลำบากในการใช้และมีความปลอดภัย
ค. มีขนาดพอเหมาะสมที่จะใช้ในห้องเรียน ไม่มีความลำบากในการใช้มีความปลอดภัย ไม่มีลักษณะยุ่งยากซับซ้อนเกินไป มีสภาพสมบูรณ์ตามที่เป็นจริงในธรรมชาติ
ง. ถูกทุกข้อ
20. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
. เพื่อการสอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน
            . ใช้ประเมินผลการใช้งานของครู
            . เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน
            ง. เพื่อเลือกสิ่งเร้าในการกระตุ้นผู้เรียน
21. เพื่อการสอน สอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทสถานการณ์จำลอง ประเภทเกมการสอน ประเภทการค้นพบ ประเภทแก้ปัญหา ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด ตัดสินใจ และประเภทเพื่อการทดสอบ ใช้ประเมินการสอนของครู คือ ความหมายของข้อใด
. ความหมายของคอมพิวเตอร์
            . รูปแบบต่างๆของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
            . ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
            . องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
22. ข้อใดต่อไปนี้ คือ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
.สร้างแรงจูงใจในการเรียน ดึงดูดความสนใจช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว
. เพื่อการสอนแบบฝึกหัดให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น
. เพื่อกระตุ้นในการเรียนการสอน
. การสอนแต่เนื้อหาใหม่ เพื่อให้เด็กสนใจที่จะเรียน
23. ข้อใด ไม่ใช่ การสร้างภาพเคลื่อนไหวพื้นฐาน
ก. การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง
            ข. การเปลี่ยนขนาด
            ค. การเปลี่ยนสี
            ง. การแทรกเสียง
24. ข้อใด ไม่ใช่ เครื่องมือในการสร้างภาพเคลื่อนไหว
ก. การใช้งาน Layer
ข. การแทรกเสียง
            ค. การเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่กำหนด
ง. การแทรกปุ่มควบคุม
25. เครื่องมือชนิดใดใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเส้นตรง
            ก. Arrow Tool
            ข. Oval Tool
            ค. Fill Color Tool
            ง. Text Tool


เฉลย

1. ง.
2. ค.
3. ง.
4. .
5. ข.
6. .
7. ก.
8. ง.
9. ง.
10. ง.
11. .
12. .
13. .
14. .
15. .
16. .
17. ค.
18. ข.
19. ค.
20. .
21. .
22. .
23. ง.
24. ค.
25. ข. 

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การสร้างสื่อการเรียนการสอน

 สื่อการสอน
          สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

ความสำคัญของสื่อการสอน  ดังนี้
          1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
          2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
          3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
          4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
          5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้เพราะ ได้ยินเสียงและได้เห็นภาพ  ประกอบกัน

 เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
          1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
          2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
          3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
          4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
          5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
          6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
             
 ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
                ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
      ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
                ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
             ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
               นำอดีตมาศึกษาได้  
     นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น


การใช้สื่อการสอน
          1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
          2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
          3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
          4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่องใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity

หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน

สื่อการสอนมีอยู่หลากหลายรูปแบบหลากหลายประเภท   การเลือกสื่อการสอนมีความสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามในการเลือกสื่อการสอนพึงระลึกไว้เสมอว่า "ไม่มีสื่อการสอนอันใดที่ใช้ได้ดีที่สุดในทุกสถานการณ์" ในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการสอนต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน ผู้ใช้สื่อไม่ควรยกเอาความสะดวก ความถนัด หรือความพอใจส่วนตัวเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกสื่อการสอนเพราะอาจเกิดผลเสียต่อกระบวนการเรียนการสอนได้
แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกสื่อการสอนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจและให้คำแนะนำไว้หลากหลายมุมมอง ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะแนวคิดของโรมิสซอว์สกี้ และแนวคิดของเคมพ์และสเมลไล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ก. แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของโรมิสซอว์สกี้
A. J. Romiszowski (1999) ได้เสนอแนวทางอย่างง่ายในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนไว้ว่า ในการเลือกสื่อการสอนนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการเลือกสื่อที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่
1. วิธีการสอน (Instructional Method) การเลือกวิธีการสอนเป็นปัจจัยแรกที่ควบคุมการเลือกสื่อ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่จำกัดทางเลือกของการใช้สื่อการสอนในการนำเสนอ เช่น ถ้าเลือกใช้วิธีการสอนแบบอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่างผู้เรียน ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่า การเลือกใช้เทปเสียง หรือ ใช้โทรทัศน์ย่อมไม่เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากสื่อดังกล่าวมีข้อจำกัดในเรื่องของการให้ผลย้อนกลับ หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นต้น
2. งานการเรียนรู้ (Learning Task) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกสื่อการสอนอีกประการหนึ่งคือ งานการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน เพราะสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่จำกัดหรือควบคุมการเลือกวิธีการสอน ตัวอย่างเช่น การฝึกอบรมผู้ตรวจการ หรือทักษะการบริหารงาน ซึ่งมักจะนิยมใช้วิธีการสอนแบบการอภิปรายกลุ่ม เพื่อผู้ตรวจการแต่ละคนแบ่งปันประสบการณ์ของตนกับผู้เข้ารับการอบรมอื่นๆ การใช้กรณีศึกษาซึ่งนำเสนอด้วยภาพยนตร์ ก็เป็นตัวอย่างทางเลือกหนึ่งที่ถูกกำหนดให้เลือกจากวิธีการสอน
3. ลักษณะของผู้เรียน (Learner Characteristics) ลักษณะพิเศษเฉพาะของผู้เรียนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเลือกสื่อการสอน ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า โดยการใช้หนังสือหรือเอกสารเป็นสื่อการสอน จะเป็นสิ่งที่ยิ่งทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาในกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนกลุ่มนี้ควรเรียนรู้จากสื่ออื่นๆ ที่ทำการรับรู้และเรียนรู้ได้ง่ายกว่านั้น
4. ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ (Practical Constrain) ข้อจำกัดในทางปฏิบัติในที่นี้หมายถึง ข้อจำกัดทั้งทางด้านการจัดการ และทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการสอน เช่น สถานที่ใช้สื่อการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก ขนาดพื้นที่ งบประมาณ เป็นต้น
5. ผู้สอนหรือครู (Teacher) สื่อการสอนแต่ละชนิดไม่ว่าจะมีข้อดีอย่างไร แต่อาจไม่ถูกนำไปใช้เพียงเพราะผู้สอนไม่มีทักษะในการใช้สื่อนั้นๆ นอกจากประเด็นในเรื่องทักษะของผู้สอนแล้ว ประเด็นในเรื่องทัศนคติของผู้สอนก็เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อการสอนเช่นกัน


ข. แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของเคมพ์และสเมลไล
Jerrold E. Kemp และ Don C. Smelle (1989) เสนอว่า นอกจากงานการเรียนรู้หรือสถานการณ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดถึงสื่อที่จะเลือกใช้แล้ว สิ่งสำคัญประการต่อมาในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนคือ คุณลักษณะของสื่อ ซึ่งผู้สอนควรศึกษาคุณลักษณะของสื่อแต่ละชนิดประกอบในการเลือกสื่อการสอนด้วย
คุณลักษณะของสื่อ (Media Attributes) หมายถึง ศักยภาพของสื่อในการแสดงออกซึ่งลักษณะต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว สี และเสียง เป็นต้น คำถามพื้นฐานในการเลือกสื่อคือ "คุณลักษณะของสื่อแบบใดที่จำเป็นสำหรับสถานการณ์การเรียนรู้ในแบบที่กำหนดให้" คุณลักษณะของสื่อที่สำคัญ ได้แก่
1. การแสดงแทนด้วยภาพ (เช่น ภาพถ่าย ภาพกราฟิก)
2. ปัจจัยทางด้านขนาด (เช่น การใช้/ไม่ใช้เครื่องฉายเพื่อขยายขนาด)
3. ปัจจัยทางด้านสี (เช่น สีสันต่างๆ ขาว-ดำ)
4. ปัจจัยทางด้านการเคลื่อนไหว (เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว)
5. ปัจจัยทางด้านภาษา (เช่น ข้อความ/ตัวอักษร เสียงพูด)
6. ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง (เช่น ภาพที่มี/ไม่มีเสียงประกอบ)
7. ปัจจัยทางด้านการจัดระเบียบข้อมูล (กำหนดให้ดูทีละภาพตามลำดับ หรือตามลำดับที่ผู้ชมเลือก)

นอกจากนี้ Kemp และ Smellie ได้แนะนำอีกว่า ในการเลือกสื่อการสอน อาจเริ่มต้นจากการตอบคำถาม 3 ข้อดังต่อไปนี้ (Kemp และ Smellie 1989)
1. วิธีการสอนแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และลักษณะของผู้เรียน เช่น  ควรใช้การนำเสนอ การเรียนรู้ด้วยตนเองตามจังหวะการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน หรือการเรียนแบบกลุ่มย่อย เป็นต้น
2. ประสบการณ์การเรียนรู้แบบใดเหมาะสมที่สุดกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เช่น ประสบการณ์ตรง ฟังคำบรรยาย อ่านเอกสาร/ตำรา
3. ถ้ามีการเลือกให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้โดยผ่านการรับรู้หรือการรับสัมผัส ต้องใช้สื่อที่มีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการรับรู้หรือการรับสัมผัสนั้นๆ มากที่สุด
อย่างไรก็ตามจากคำแนะนำข้างต้นในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการสอน ควรเป็นการตัดสินใจในการใช้สื่อการสอนสำหรับการเรียนรู้ในแต่ละหลักการหรือแต่ละหัวข้อ หรือแต่ละประเด็นของบทเรียน ไม่ควรเป็นการตัดสินใจเพื่อการเรียนรู้ในภาพโดยรวมทั้งหมดของเนื้อหาทั้งหลักสูตร เพราะเนื้อหาแต่ละหัวข้อหรือแต่ละส่วนย่อมมีลักษณะธรรมชาติของเนื้อหาแตกต่างกันออกไป



โดยสรุป การเลือกสื่อการสอนตามคำแนะนำของ โรมิสซอว์สกี้ และ เคมพ์และสเมลไล นั้นควรเริ่มต้นจากการพิจารณางานการเรียนรู้หรือสถานการณ์การเรียนรู้ และนำมาพิจารณาเลือกคุณลักษณะของสื่อการสอนที่เหมาะสมจะใช้กับงานการเรียนรู้/สถานการณ์เรียนรู้นั้นๆ เมื่อได้กำหนดคุณลักษณะของสื่อที่เหมาะสมแล้ว จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงกลุ่มหรือประเภทของสื่อการสอนที่สามารถเลือกมาใช้งานได้